ปรัชญา
ปญฺญา วธานํ เสยโย ปัญญาแลประเสริฐกว่าทรัพย์
คำขวัญ
เทคโนโลยีก้าวหน้า วิชาการก้าวไกล ใส่ใจแหล่งเรียนรู้ ควบคู่คุณธรรม นำชุมชนสู่อาเซียน
สีประจำโรงเรียน
สีเขียว เหลือง
สีเขียว หมายถึง ความมุ่งมั่น สร้างสรรค์ เกียรติยศ
สีเหลือง หมายถึง ความสะอาด บริสุทธิ์ ความสำเร็จ
สีเขียวเหลือง หมายถึง ความมุ่งมั่นในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียน เป็นคนดี มีความรู้คู่คุณธรรม
มีสุขภาพกาย และจิตที่ดี ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
เอกลักษณ์
การแต่งกายชุดศรีโคตรบูรณ์
อัตลักษณ์
คุณธรรมนำความรู้ เคียงคู่ชุมชน สืบสานประเพณี
อักษรย่อ อ.ว.พ.น.
ตราสัญลักษณ์
วิสัยทัศน์
โรงเรียนอนุบาลวัดพระธาตุพนม "พนมวิทยาคาร" มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา สร้างเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ มีสุขภาพอนามัยที่ดี พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการเรียนรู้เชิงรุก ส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและรักความเป็นไทย มีทักษะชีวิต ดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐานประชาธิปไตย พัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
พันธกิจ
พัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ส่งเสริมให้ผู้เรียน เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น สร้างเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
จัดกิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย และมีความปลอดภัยในชีวิตให้กับผู้เรียน
พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และใช้กระบวนการที่หลากหลาย
ส่งเสริมให้นักเรียนเห็นคุณค่าและรักความเป็นไทย มีทักษะชีวิต อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ส่งเสริมและปลูกฝังทักษะการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐานประชาธิปไตย
พัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ลดภาระงาน
ประสานความร่วมมือกับชุมชน ท้องถิ่นและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
เป้าประสงค์
ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตรและคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ผู้เรียนมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีสุขภาพจิตมี่ดี มีความพร้อมในการเรียน และมีความปลอดภัยในชีวิต
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ในการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล
ผู้เรียนมีทักษะชีวิต เห็นคุณค่าและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักใช้และรักษา ทรัพยากร ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผู้เรียนดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐานประชาธิปไตย
สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการที่ทันสมัย สะดวกรวดเร็ว ลดภาระงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา
ชุมชน และท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการพัฒนาสถานศึกษา
จุดเน้น
ด้านผู้เรียน: เก่ง ดี มีสุข ครบทุกสมรรถนะ
แนวทางการส่งเสริมคุณภาพด้านผู้เรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง เก่ง ดี มีสุข ครบทุกสมรรถนะ:
1. ด้านความเก่ง (ด้านวิชาการและทักษะ)
ส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย: ใช้เทคนิคการสอนที่สร้างสรรค์และยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
การพัฒนาทักษะที่จำเป็น: สนับสนุนการพัฒนาทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการสื่อสาร
การใช้เทคโนโลยี: นำเทคโนโลยีมาช่วยในการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มความสะดวกและเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
2. ด้านความดี (คุณธรรมและจริยธรรม)
ส่งเสริมการทำความดี: มุ่งเน้นการสร้างสรรค์กิจกรรมที่ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม เช่น การทำงานจิตอาสา การช่วยเหลือผู้อื่น และการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม
สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม: จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่เน้นการเรียนรู้ผ่านการทำจริง เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกการคิดเชิงจริยธรรมและการตัดสินใจ
เป็นแบบอย่างที่ดี: ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรเป็นตัวอย่างในด้านคุณธรรมและการมีน้ำใจต่อผู้อื่น
3. ด้านความสุข (สุขภาพจิตและสุขภาพกาย)
สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร: จัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เปิดกว้างและเป็นมิตร เพื่อส่งเสริมความสุขของผู้เรียนในการเรียนรู้
ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกาย: เพื่อให้ผู้เรียนมีสุขภาพกายแข็งแรง ควบคู่กับการพัฒนาสุขภาพจิตใจที่ดี
การดูแลสภาพจิตใจ: จัดหานักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยเหลือผู้เรียนในการจัดการกับความเครียดและปัญหาต่าง ๆ
4. สมรรถนะที่ครบถ้วน (Competency-based)
จัดกิจกรรมเสริมทักษะชีวิต: เพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัว เช่น ทักษะการทำงานร่วมกัน การเรียนรู้ด้วยตัวเอง และการจัดการตนเอง
การเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์จริง: มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือทำจริง เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวันและการทำงานในอนาคต
การประเมินแบบองค์รวม: ใช้การประเมินที่เน้นความหลากหลาย เพื่อวัดสมรรถนะของผู้เรียนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ ทักษะชีวิต และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ด้านสถานศึกษา: มาตรฐาน ธรรมาภิบาล ปลอดภัย ก้าวไกลเทคโนโลยี
แนวทางการส่งเสริมคุณภาพด้านสถานศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาตามมาตรฐาน ส่งเสริมธรรมาภิบาล ความปลอดภัย และการนำเทคโนโลยีมาใช้:
1. มุ่งสู่มาตรฐาน (มาตรฐานการศึกษาและการบริหารจัดการ)
พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้ทันสมัย: อัปเดตหลักสูตรและเนื้อหาการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาและความต้องการของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
ประเมินและพัฒนาครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง: จัดการฝึกอบรมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครูและบุคลากรมีทักษะที่ทันสมัย และสามารถสอนและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบการประเมินที่โปร่งใสและเป็นธรรม: ใช้การประเมินคุณภาพการสอนและการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานชัดเจน และมีการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่ามีความเป็นธรรม
2. ธรรมาภิบาล (Good Governance)
การบริหารจัดการที่โปร่งใส: มุ่งเน้นการบริหารจัดการที่มีความโปร่งใส โดยเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษาให้กับครู นักเรียน และผู้ปกครอง
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน: ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนในกิจกรรมและการตัดสินใจ เพื่อสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็ง
การจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ: ใช้งบประมาณอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาการเรียนการสอนและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
3. ปลอดภัย (Safe School)
การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย: จัดหามาตรการเพื่อความปลอดภัย เช่น ติดตั้งกล้องวงจรปิด มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และตรวจสอบพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย
อบรมเรื่องความปลอดภัย: จัดอบรมให้นักเรียน ครู และบุคลากรเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน และความปลอดภัยทางไซเบอร์
ระบบการดูแลสุขภาพและสุขภาพจิต: จัดให้มีบริการดูแลสุขภาพทั้งด้านกายและจิตใจ เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี และการให้คำปรึกษาจากนักจิตวิทยา
4. ก้าวไกลเทคโนโลยี (Technology Integration)
นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน: สนับสนุนให้ครูและนักเรียนนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้สื่อดิจิทัล ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ และแพลตฟอร์มการจัดการเรียนรู้
พัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับครูและนักเรียน: จัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยี และส่งเสริมการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาเชิงดิจิทัล
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี: ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา: คุณภาพ คุณธรรม เต็มที่เต็มเวลา พัฒนา Active Learning
แนวทางการส่งเสริมคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เน้นมุ่งสู่คุณภาพ คุณธรรม การทุ่มเทเวลาและทรัพยากรในการพัฒนา และการส่งเสริม Active Learning:
1. มุ่งสู่คุณภาพ (การพัฒนาทักษะและศักยภาพของครู)
จัดการฝึกอบรมและพัฒนาต่อเนื่อง: ครูและบุคลากรควรได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสอน การวางแผนการสอน และการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน
ประเมินและติดตามผลการสอน: ใช้การประเมินผลที่ชัดเจนและสม่ำเสมอ เพื่อให้ครูได้ทราบถึงข้อดีและข้อควรปรับปรุงในวิธีการสอนของตนเอง
สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมการสอน: ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในห้องเรียนหรือพัฒนานวัตกรรมการสอนใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน
2. มุ่งสู่คุณธรรม (จริยธรรมและความรับผิดชอบของครู)
ส่งเสริมการมีจริยธรรมในวิชาชีพ: จัดอบรมและกิจกรรมที่ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ เพื่อให้ครูมีความซื่อสัตย์ มีจรรยาบรรณ และรับผิดชอบต่อการสอนและการพัฒนาผู้เรียน
เป็นแบบอย่างที่ดี: ครูควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตและการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และยึดถือเป็นแบบอย่าง
สร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตร: การส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการทำงานร่วมกันอย่างมีจิตอาสาและมีความเคารพซึ่งกันและกัน
3. เต็มที่ เต็มเวลา (การทุ่มเทและการจัดการเวลา)
การจัดการเวลาที่มีประสิทธิภาพ: ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรสามารถจัดการเวลาการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการพัฒนาผู้เรียน
การสนับสนุนความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว: สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ครูมีสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว เพื่อลดความเครียดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
สร้างแรงจูงใจและการยอมรับ: ชื่นชมและสนับสนุนครูที่ทุ่มเทเวลาและความพยายามในการพัฒนานักเรียนอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในวิชาชีพ
4. พัฒนา Active Learning (การเรียนรู้เชิงรุก)
อบรมครูในการใช้วิธีการสอนแบบ Active Learning: จัดอบรมเกี่ยวกับเทคนิคการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียน เช่น การเรียนรู้ผ่านโครงการ การอภิปรายกลุ่ม และการทำกิจกรรมในห้องเรียน
สร้างห้องเรียนที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์: ส่งเสริมให้ครูสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ผ่านการตั้งคำถาม การอภิปราย และการลงมือทำจริง
ใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้: ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี เช่น สื่อดิจิทัล และแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อเพิ่มความหลากหลายและความน่าสนใจในการเรียนรู้แบบ Active Learning
กลยุทธ์ของสถานศึกษา
โรงเรียนอนุบาลวัดพระธาตุพนม “พนมวิทยาคาร”
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร และมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษา สร้างเครือข่ายและความร่วมมือทางการศึกษา
กลยุทธที่ 5 พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
***********************
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร และมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
เป้าประสงค์ที่ 1 ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพตามหลักสูตร มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา กล้าแสดงออกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและชุมชน อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรการ
1.1 ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมชุมชน ค่านิยมคนไทย 12 ประการ และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.3 ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.4 ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมแนะแนว การบริการแนะแนวเพื่อการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง สามารถวางแผนชีวิตด้านการเรียน การประกอบอาชีพในอนาคตสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
1.5 ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และภาษาอาเซียนอย่างน้อย 1 ภาษา
1.6 ส่งเสริม สนับกิจกรรมการบริหารจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียน ให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และมีคุณภาพ
เป้าประสงค์ที่ 2 ประชากรวัยเรียนในเขตพื้นที่บริการทุกคน ได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และเสมอภาค
มาตรการ
2.1 เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและเท่าเทียม
2.2 จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ชุมชน และ มุ่งสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย
2.3 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการมีงานทำของผู้เรียน
2.4 เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการออกกลางคัน ดูแลช่วยเหลือเด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาส
2.5 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ นักเรียนรายบุคคล ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ
2.6 สร้างความเข้มแข็งการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน และระบบคุ้มครองนักเรียน
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
เป้าประสงค์ที่ 3 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีทักษะที่เหมาะสม และมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
มาตรการ
3.1 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวัดและประเมินผล การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและทักษะในการสื่อสารของครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 ส่งเสริม พัฒนาครูให้สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษา ในการจัดการเรียนรู้ การสอนคิด การประยุกต์ใช้สื่อ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการวัดประเมินผล ให้สามารถพัฒนาและประเมินผลผู้เรียนให้มีคุณภาพตามศักยภาพเป็นรายบุคคล
3.3 ส่งเสริมระบบการนิเทศภายในที่เป็นระบบและมีความเป็นกัลยาณมิตร
3.4 ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและทุกภาคส่วนให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้
3.5 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้สอดรับกับการเป็นประชาคมอาเซียน
3.6 เสริมสร้างแรงจูงใจ ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีขวัญกำลังใจในการทำงาน
3.7 ยกย่อง เชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีผลงานเชิงประจักษ์
3.8 ส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพครูตามแนวทางการพั?นาวิชาชีพครูที่ ก.ค.ศ. กำหนด
3.9 สนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีจิตวิญญาณของความเป็นครูการเป็นครูมืออาชีพ และยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพ
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา สร้างเครือข่ายและความร่วมมือทางการศึกษา
เป้าประสงค์ที่ 4 สถานศึกษาบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรการ
4.1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4.2 พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐาน
4.3 พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมภิบาล
4.4 เสริมสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชนในการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพกาศึกษา
4.5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4.6 ส่งเสริมสนับสนุนการใช้การวิจัยเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษ
4.7 พัฒนาระบบส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
4.8 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา
4.9 ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและการนำหลักสูตรไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน ท้องถิ่น และสังคม
4.10 ส่งเสริมสนับสนุน การนำผลการทดสอบ O-NET การประเมินของ PISA และระบบการทดสอบกลางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
4.11 พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ให้มีความเข้มแข็ง
4.12 พัฒนาระบบการนิเทศติดตาม ประเมินผล และรายงานผล ให้มีความเข้มแข็งและต่อเนื่อง
กลยุทธที่ 5 พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
เป้าประสงค์ที่ 5 สถานศึกษาบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม สะดวก รวดเร็วและทันสมัย ลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
มาตรการ
5.1 จัดหาคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ต่อพวงสำหรับการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ให้เพียงพอ
5.2 พัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตภายในสถานศึกษาให้เพียงพอและรวดเร็วในการใช้งาน
5.3 ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรมีความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ สื่อ โปรแกรม แพลตฟอร์ม และอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้
5.4 ส่งเสริม สนับสนุนบุคลากรในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรม ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
5.5 พัฒนาเว็บไซต์ของสถานศึกษาให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนางานร่วมกันของบุคลากรในสถานศึกษา
5.6 ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีเว็บไซต์เพื่อการพัฒนางานและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
5.7 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและเพื่อการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว